Here! Sod
Here! Sod
Here! Sod
Here! Sod
HUG PHAYAO RICE
branding, logo design, packaging design, identity, art direction
ข้าวหอมมะลิฮักพะเยา เป็นหนึ่งในการขับเคลื่อนการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร ภายใต้ “พะเยาโมเดล” ซึ่งเป็นโครงการของทางภาครัฐ เพื่อสร้างต้นแบบการส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรที่มีคุณค่าเฉพาะตามความต้องการของตลาด ซึ่งข้าวหอมมะลิ คือหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดพะเยา เพราะดินที่ใช้ปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดพะเยาเป็นดินที่เกิดจากตะกอนลำน้ำที่มีส่วนประกอบจากหินภูเขาไฟและหินตะกอนชนิดต่างๆ พบบริเวณพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบระหว่างหุบเขา ดินมีการระบายน้ำเลว เนื้อละเอียด ซึ่งเหมาะแก่การปลูกข้าวหอมมะลิ ประกอบกับการมีแร่ธาตุต่างๆ มากมายที่ถูกพัดพามาจากน้ำแม่อิง ทำให้ข้าวหอมมะลิพะเยามีความหอมที่โดดเด่น และเป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร อีกทั้งยังใช้นโยบายการตลาดนำการผลิต เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอนและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม
งานวันเก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิโลก ครั้งที่ 3 นี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของพะเยาโมเดล ภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงกับ บริษัท ข้าว ซี.พี.จำกัด ที่มีนโยบายการตลาดนำการผลิต ชวนพันธมิตรคู่ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้แก่ C.P.INTERTRADE (SHANGHAI) CO.,LTD SHANGHAI RONGYOU INTER-TRADE CO.,LTD 7-Eleven Makro และ Shopee ร่วมลงนาม MOU ทางการค้า เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพ ในแบรนด์ ข้าว “ฮัก พะเยา” ไปสู่ผู้บริโภคในตลาดโลก
โลโก้ดีไซน์ (Logo Design) แบรนด์ฮักพะเยา (Hug Phayao) นี้ได้แนวคิดมาจากลักษณะตัวอักษรประเภท Handwritten ซึ่งถอดความมาจากตามไร่นานั้นจะมีป้ายไม้ที่ใช้มือเขียนมากมาย เช่น ป้ายชื่อไร่นา ทางเข้าวัด หรือป้ายรีสอร์ท เป็นต้น ลักษณะป้ายจะเป็นการเขียนด้วยมือใช้พู่กันกับสีขาว จึงเอามาเขียนเป็นคำว่า ”ฮักพะเยา” เพื่อสื่อถึงการทำนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน ความเป็นชนบทชุมชน มีการใส่ Texture ของฝีแปรงเพื่อให้เหมือนฟอนต์ตามป้ายไม้ยิ่งขึ้น
การออกแบบบรรจุภัณฑ์นี้ ได้แรงบันดาลใจของภาพวาดเกษตรกร มาจากภาพวาดสไตล์วาดล้อเลียนซึ่งผมมองว่าศิลปะรูปแบบนี้มีความเป็นไทยมากๆ เนื่องจากภาพวาดล้อเลียน หรือ Caricature Style ซึ่งอยู่คู่กับคนไทยมายาวนานที่จะมีการมอบให้กันในโอกาสพิเศษต่างๆ ทั้งงานแต่งงาน รับปริญญา และโอกาสสำคัญอื่นๆ
มีจุดเด่นที่ใบหน้าและท่าทางของผู้คนในภาพ จะมีการสื่อสารอารมณ์แบบ Overacting เพิ่มอารมณ์ให้เกษตรกรที่เริงร่าอย่างมีความสุข ผ่านรอยยิ้มที่ดูจริงใจ และเพิ่มภาพของดอกคำใต้ซึ่งเป็นพืชประจำถิ่นรวมทั้งเป็นชื่อของอำเภอดอกคำใต้แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชั้นดีที่นำผลผลิตมาจำหน่ายในครั้งนี้